ประเด็นท้าทาย : การพัฒนา ส่งเสริม และสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
ประเด็นท้าทาย : การพัฒนา ส่งเสริม และสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
📕ประเด็น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๑ มีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวน ๑๕๓ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๑๘ ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาการขาดแคลนครูที่ไม่ตรงเอกและจํานวนครูไม่ครบชั้นเรียน จากสถานการณ์ โควิด-๑๙ การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ โดยผู้สอนต้อง
เตรียมตัว และเข้าใจทักษะในการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแพลตฟอร์มรูปแบบต่าง ๆ และการเลือกใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้อย่าง เหมาะสม
จากเหตุผลข้างต้น จึงความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา ส่งเสริม และสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อน การจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ไปใช้ในการบริหารจัดการวางแผนจัดการเรียนการสอน และสนับสนุน ส่งเสริมการเลือกและประยุกต์ใช้สื่อบนแพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และได้วางแผนการออกนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ฯ ดังประเด็นต่อไปนี้
๑. ครูผู้ช่วยขาดความรู้ความเข้าใจ วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน (Technology-based Learning)
๒. ครูผู้ช่วยยังไม่สามารถนำเข้าสื่อและใช้สื่อในแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
📕เป้าหมาย (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ)
ปริมาณ
ครูผู้ช่วย ในสังกัด สพป.ร้อยเอ็ด เขต ๑ จำนวน ๑๕๐ คน
คุณภาพ
ครูผู้ช่วยในสังกัด สพป.ร้อยเอ็ด เขต ๑ สามารถสร้าง เลือก และใช้สื่อ เทคโนโลยี
ทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
📕วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ช่วยสามารถเลือกใช้ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
๒. เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ช่วยสามารถสร้าง สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
📕ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑. ครูผู้ช่วย ในสังกัด สพป.ร้อยเอ็ด เขต ๑ ร้อยละ ๘๐ สามารถเลือกใช้ สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา
เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
๒.ครูผู้ช่วยในสังกัด สพป.ร้อยเอ็ด เขต ๑ ร้อยละ ๘๐ สามารถสร้าง สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา
เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
📕กิจกรรมวิธีดำเนินการ
ขั้นที่ ๑ การวางแผนการดำเนินงาน (P-Plan)
๑. รับฟังนโยบายการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)จากหน่วยงานต้นสังกัด
๒. ศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริม
การจัดการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้
๓. กำหนดความสำคัญ เป้าหมาย วิธีการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ปฏิทินการนิเทศและเครื่องมือในการนิเทศ
ขั้นที่ ๒ การปฏิบัติตามแผน (D-Do)
๑. ประชุมพร้อมชี้แจงแผนงานวัตถุประสงค์ ให้แก่คณะทำงาน
๒. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ฯ ภายใต้คอนเซป์ สร้าง - ช๊อป – ใช้ สื่อการสอนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา Anywhere Anytime
๒.๑ สร้าง สื่อการสอน
๒.๒ การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ต่างๆ
๒.๓ การใช้สื่อการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ผ่านแนวคิดเทคโนโลยีเป็นฐาน (Technology-based Learning)
๓. ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศทำการศึกษาและทำความเข้าใจชุดการนิเทศเพื่อพัฒนา ส่งเสริม และสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime))
๔. ครูผู้รับการนิเทศ และผู้นิเทศ นิเทศตามขั้นตอน โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้
๔.๑ สังเกตการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบคลังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ OBEC Content Center
๔.๒ ประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้รับการประเมิน
๔.๓ ผู้นิเทศนำเสนอผลการสังเกตตามเครื่องมือนิเทศแก่ครูผู้รับการนิเทศ และร่วมกันสะท้อนผลการนิเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ขั้นที่ ๓ การติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการนิเทศ (C-Check)
๑. การประเมินความพึงพอใจในการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบคลังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ OBEC Content Center
๒. การประเมิน การเพื่อพัฒนา ส่งเสริม และสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
ขั้นที่ ๔ การปรับปรุงแก้ไข (A-Act)
๑. เผยแพร่ผลการดำเนินงาน
๒. รายงานผลและสรุปผลการดำเนินงานการนิเทศ
๓. นำผลการนิเทศไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่การเพื่อพัฒนา ส่งเสริม และสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
📕สื่อ/เครื่องมือนิเทศ
๑. แบบตรวจสอบความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี
๒. ชุดนิเทศ จัดการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)